กะต้า
- Keeratikhun Chuenchomrat
- Oct 29, 2024
- 1 min read

กะต้า หรือ ตะกร้า ในภาษาภาคกลาง เป็นของมีเสนห์ แสดงความอุตสาหและฝีมือ ในแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีลักษณะต่างกันไป ชอบกะต้าทางอิสาน โดยเฉพาะถิ่นเขมรแผ่นดินบน มีความลเอียด ซับซ้อน บุรีรัมย์ ก็อย่าง ศรีสะเกษก็อย่าง สุรินทร์ก็อย่าง ใบหนึ่ง หรือลูกหนึ่ง ใช้กันชั่วลูกชั่วหลาน กะต้าใบเล็กใส่หมากพลู เขมรบนเรียก เฮ็บรึเซย รึเซย มาจากคำ ฤษี ภาษาเขมรใช้ในความหมาย ไม่ไผ่ เฮ็บคือ กะต้าใบน้อยๆ ใหญ่ขึ้นมาหน่อย เรียก กระเฌอ ใหญ่สุดเรียก กระบุง ตีนกะต้า ใช้ก้านตาลแห้งสุดคลาสสิก เวลาไปซื้อของมักจะหยิบติดมือไปเสมอ คนมักจะถามที่มาที่ไป สังเกตด้วยตา กะต้าทางตะวันออกจะมีทรงชัดและสานแน่น กะต้าทางเมืองฝรั่ง จะนุ่มกว่า หากเป็นหวายเส้นโต ก็จะโปร่งๆ สวยไปอีกแบบ คนมีฝีมือ ทำน้อยลงทุกวันๆ หากเห็นว่าสวย และเป็นตายายาสาน จะซื้อเก็บไว้ทันที
Comments