top of page

กังไสสยามตอน 4 : เสนหจันทรา (2)



“ฉันชอบห่อหมกอย่างสยามมากกว่า เพราะนึ่งแล้ว เนื้อมันไม่แห้ง โอต๊ะย่างไฟ เนื้อแห้งกว่า แต่ก็หอม”


ชมจันทรา หญิงสาวสยามที่ผู้คนชาวเมืองไทรบุรี ต่างรำ่ลือเรื่องความงาม ทั้งยังได้รับการศึกษาตามแบบอย่างตะวันตก เนื่องจาก “แม่” จากไปตั้งแต่ชมจันทรายังจำความไม่ได้ คุณหญิง เนื่อง ฤทธิสงครามรามภักดี หม่อมในสุลต่าน อับดุล ฮามิด อาลิม แห่งไทรบุรี จึงเอ็นดูรับไว้ในอุปการะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ การเรือน กับข้าวกับปลาตำรับสยามให้ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว “พ่อ” ส่งชมจันทราไปเรียนในโรงเรียนคอนแวนต์ในปีนัง ในความดูแลของตระกูลคอ คหบดีใหญ่ผู้กว้างขวางในแถบอันดามัน


“นี่เสียดายอาหลงไม่มา แกชอบกินมากนะ ยิ่งมันฝรั่งนิ่มๆ ผสมกับข้าวเมืองตรังนี่”


“นั่นไง พูดถึง็มาพอดี” อาเบ๋ง ส่งตามองให้ชมจันทรา


“โกหลงมากินข้าวด้วยกัน ของโปรดโกหลงทั้งนั้น” ชมจันทรา ชวนกินมื้อกลางวันอย่างกันเอง


“อาเหลียง มันเป็นอะไร สันดานเสียตั้งแต่หนุ่มจนแก่จะตายกันอยู่แล้ว” อาหลงบ่น


ปัตตาเวีย 1882


พ้นเวลากลางวัน อาเบ๋งก็ง่วนกับการตรวจคุณภาพข้าวเปลือกจากชาวบ้านหมู่ต่างๆ ที่เอามาขายให้โรงสีของห้าวไถ่หยาง และข้าวจ้าวจากโรงสีอื่นๆ แล้วแยกเป็นพวกๆ


“ลื้อดูนะ อาเบ๋ง ข้าวที่ชื้น จะมีรอยบนกระดาน ข้าวที่แห้งกว่าจะมีน้อย หรือไม่มีเลย ชาวบ้านที่เอามาขายบางคนใจร้อน ข้าวเปลือกยังตากไม่แห้งดี ก็เอามาขาย เสียเวลาเราต้องตากอีกรอบ กินที่ด้วย ราคาข้าวเปลือกชื้นๆ จะถูก แต่ก็ขายยาก ส่วนใหญ่ส่งไปขายตามเหมืองในมลายู” โกหย่งสอน


“ข้าวสยามแห้งดีจังเลย โกหย่ง มิน่าส่งขายสิงคโปร์ได้ราคาดี”


“อะไรดีๆ ส่งไปสิงคโปร์หมด เแล้วสิงคโปร์ก็ส่งไปขายฮ่องกงต่อ หรือไม่ก็ปีนัง ข้าวจากสงขลาก็ดี ส่งขายศรีลังกาได้”


“เมืองแขก ชอบข้าวนึ่ง ลื้อรู้จักไหมอาเบ๋ง”

อาเบ๋ง ส่ายหน้า ค้อมหัวลง พร้อมรับฟังคำสอนจากโกหย่ง


“ลื้อเห็นข้าวเปลือกนั่นไหม เราเอาไปนึ่งให้สุกสักครึ่งหนึ่ง แล้วค่อยเอามาตากให้แห้ง แขกทางอินเดีย ศรีลังกา ชอบข้าวแบบนี้ เวลาหุงเม็ดสวย มันก็คงจะเข้ากับกับข้าวบ้านเมืองเขา พวกเรากิน ก็ไม่ค่อยชอบกันสักเท่าไร”


ห้างไถ่หยางมีกิจการโรงสีของตัวเอง รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา อีกทั้งรับซื้อข้าวสารจากโรงสีอื่นด้วย เพราะมีลูกค้าหลากหลาย โรงสีไหนมีข้าวเหลือมาก ต้องการเงินสดหมุนเวียน จะเอามาขายให้ห้างไถ่หยาง

อาเบ๋งรู้สึกตื่นเต้นเสมอเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ งานคัดข้าวต้องใช้ความละเอียด แยกไว้เป็นหมวดหมู่ เมื่อชาวนาเอาข้าวมาขายในฤดูต่อไป ก็เอามาเทียบเคียงกัน ตรวจดูคุณภาพได้ หลายต่อหลายครั้ง อาเบ๋งรู้สึกสงสารชาวบ้านจับใจ


“บอกแล้วใช่ไหม อย่าปลูกข้าวซ้ำๆ ดินต้องดูแล ถ้าไม่มีพันธุ์ข้าว ให้มาที่โรงสี อั๊วมีให้ ดีกว่าปลูกไปเรื่อยๆ” โกหย่ง แม้จะดูดุ จริงจังไปบ้าง แต่เป็นคนมีจิตใจดี ห้างเถ้าแก่หยาง คงเป็นห้างไม่กี่แห่งที่เก็บพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ไว้ โดยคัดเม็ดสวยไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างข้าว และแจกจ่ายให้ชาวนาท้องถิ่น


คนพื้นเมืองจึงชอบห้างเถ้าแก่หยางมากกว่าไหนๆ แม้เถ้าแก่รองจะไม่ค่อยเป็นมิตรสักเท่าไร และมักให้ลูกน้องหาเศษหาเลยกับคนพื้นเมือง


“โกหย่งใจดีแบบนี้ พวกชาวนาก็เคยตัว ห้างเราก็ขาดทุน” อาเหลียง ลูกน้องเถ้าแก่สองเริ่มระราน


“จะขาดทุนยังไง อั๊วรับซื้อตามคุณภาพ ข้าวรองอั๊วก็จ่ายตามราคารอง แค่ให้พันธุ์ข้าวดีๆ ให้อีปลูกมาขายเรา”


“แล้วถ้า อีเอาไปขายห้างอื่น ห้างเราไม่ขาดทุนหรือไง อั๊วจะบอกเถ้าแก่รอง”


“เรื่องนี้ เป็นความคิดเถ้าแก่หยาง ลื้อจะไปบอกเถ้าแก่รองก็ตามใจ แล้วลื้อทำไมไม่ไปทำงานของตัวเอง มาเสนอหน้าอะไรตรงนี้”


อาเหลียงชักสีหน้าไม่พอใจ “ไปเว้ย กลับ”


Comentarios


bottom of page