top of page

ภาษาชวนคุย (๔) : อักษรต่ำเดี่ยว "ต่ำ" อย่างไร เดี่ยวอย่างไร



ความทรงจำลางๆ ในชั่วโมงเรียนภาษาไทยเมื่อยังเด็กของใครหลายคน คงคุ้นเคยดีว่า อักษร ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว จัดอยู่ในกลุ่ม “อักษรต่ำเดี่ยว ในใจหลายๆ คน คงมี คำถาม ต่ำ อย่างไร เดี่ยวอย่างไร ดูเหมือนว่าคำถามหลังจะตอบได้เร็วกว่า เพราะตัวอักษรทั้ง ๑๐ ที่กล่าวมา ไม่มีคู่เสียงจัตวา เหมือนอักษรตำ่คู่ เช่น ข - ค และ ฉ - ช เป็นต้น หากไม่มีคู่เสียงจัตวา แล้วจะเรียกว่า ตำ่ ได้อย่างไร เพราะหากมีเสียง ต่ำ แสดงว่า ต้องขึ้นเสียงสูงคือ จัตวา ก่อน


คำ “ต่ำ” นี้ เข้าใจได้หลาย “นัย” หากเราออกเสียงพยัญชนะในแต่ละแถว จากซ้ายไปขวา เช่น ก ข ค ฆ ง สังเกตเสียงสุดท้ายดีๆ ว่า เสียงมันจะ “เบา” กว่า ๔ เสียงข้างหน้า กล่าวคือ เสียงพยัญชนะ ในแถวลงที่ ๕ นั้น เป็นเสียง เบา หรือ ต่ำ กว่า ๔ เสียงข้างหน้านั่นเอง เสียง เบา หรือ ตำ่ นี้ บ้าง เป็นเสียงออกจมูก (นาสิก) (ง ญ ณ น ม) บ้างเป็นเสียงข้างลิ้น (ล ฬ) รัวลิ้น (ร) และเสียงกึ่งสระ (ว ย) บ้าง เนื้อเสียงของพยัญชนะกลุ่มนี้ เบา หรือ ต่ำ กว่า อีก ๔ แถวข้างหน้า จึงจัดเสียงพยัญชนะเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสียงต่ำ ส่วนที่เรียกว่า “เดี่ยว” ก็เพราะ ไม่มีพยัญชนะคู่เสียงจัตวา นั่นเอง อย่างไรก็ตาม เกิดประเด็นว่า ไม่มีคู่เสียงจัตวาจริงหรือไม่ จะนำว่าเล่ากันฟัง ในคราวต่อไป #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com


9 views0 comments

Comentários


bottom of page