top of page

ภาษาชวนคุย(๕):การผันเสียงสูงต่ำในระดับคำ - คำเป็น/ คำตาย


ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งในภาษาไทย คือ เสียงสูงต่ำในระดับคำ คือ คำทุกคำในภาษาไทย จะมีเสียงสูงตำ่กำกับอยู่ อย่างที่เราเรียกกันว่า “วรรณยุกต์” แล้ว คำนี้ แปลว่าอะไร ? เอาจริงๆ คนที่รู้ความหมายของคำ “วรรณยุกต์” นั้น น้อยมาก แต่ก็น่าสนใจไม่ใช่หรือ ที่เราจะหาความหมายจากคำนี้ คำ “วรรณ” หมายถึง ชนิด กลุ่ม ส่วน “ยุกต์” หมายถึง “ใช้อย่างเหมาะ” เป็นคำเดียวกับ “ประยุกต์” รวมความแล้ว หมายถึง ‘การปรับใช้อย่างเหมาะสม’ ก่อนที่จะเล่าอะไรๆ ต่างๆ อยากให้ลองอ่านข้อความตัวอย่างดังต่อไปนี้




“กลิ่นเช้า ไม่รู้จะเรียกอะไร เพราะเป็นกลิ่นที่จับจมูกอยู่ทุกเช้า อยู่ในสวนบางกอกน้อยนี่ เรื่องตื่นสาย อย่าได้คิดแม้น้อย เพราะเสียงระฆังย่ำจากวัดตลิ่งชันฝั่งตรงข้ามปลุกแต่เช้ามืด สักพัก ก็จะได้ยินเสียงวาดพาย ออกจากคลองวัดตลิ่งชัน ชาวบ้านแถวนี้ตื่นเช้า ก็ยังนึกอยู่ว่าจะรีบตื่นทำไมกัน ตลาดก็ไม่ติด บ้างลอยลำอยู่ที่ตลิ่งหน้าบ้าน เก็บตำลึง กระถิน มะพร้าว บ้านท่านเจ้าคุณดำเกิงฯ​ ร่วงอยู่มาก เจ้าของยกให้ไม่ได้ซื้อขาย เคยถามคุณป้าคนหนึ่ง นางว่าเอาไปแกงบ้าง ขายบ้าง ตรงหน้าอำเภอมีแผงผลไม้เล็ก ฝากเขาวางขาย หรือว่างก็ไปนั่ง...”




จากข้อความที่ยกมานี้ ขอให้ตอบคำถามตัวเอง ดังนี้


๑ ในข้อความนี้ คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ มีมากหรือน้อยกว่า คำที่ไม่มีเครื่องหมายกำกับ

๒ เครื่องหมายวรรณยุกต์ที่พบในความนี้ มีกี่ แบบ


คำตอบที่ชัดเจนในตัวเองคือ คำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ มีมากกว่า และในภาษาไทย ส่วนใหญ่จะใช้ เพียงเครื่องหมาย ไม้เอก ่ และ ไม้โท ้ ดังนั้น คำ โดยมากจะไม่ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์เลย หากเราจะสอนเรื่องการผันเสียงสูงต่ำ เราจำเป็นต้องรู้ ข้อเท็จจริง ดังที่กล่าวนี้ก่อน และ สิ่งที่กำหนด เสียงสูงตำ่ของคำ คือ เสียงพยัญชนะ ต้น/ท้าย และ สระ ปั้นออกมาเป็บคำ ๒ แบบ เรียก คำเป็น และ คำตาย


คำเป็น มีลักษณะดังนี้


๑ พยัญชนะต้น + สระยาว

๒ พยัญชนะต้น + สระยาว /สั้น + พยัชนะท้ายเสียง ม น ง ย ว


คำตาย มีลักษณะดังนี้


๑ พยัญชนะต้น + สระสั้น

๒ พยัญชนะต้น + สระยาว /สั้น + พยัชนะท้ายเสียง ก ด บ


คราวต่อไป นำ “แบบคำ” ทั้ง ๒ นี้ มาใช้กับพยัญชนะทั้ง ๓ กลุ่ม กลาง สูง ต่ำ #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com



11 views0 comments

Comments


bottom of page