top of page

ภาษาชวนคุย (๖) : การผันเสียงสูงต่ำ กลุ่มอักษรสูง ต่ำคู่



ในตอนที่แล้ว ได้พูดถึง แบบคำ ในภาษาไทย คือ คำเป็นและคำตาย ในการผันเสียงสูง ตำ่ ด้วยไม้วรรณยุกต์ จะเกิดใน คำเป็น เป็นส่วนมาก ส่วน คำตาย แทบจะไม่ใช้ ไม้วรรณยุกต์เลย ลองมาดู กลุ่ม อักษร สูง และ ต่ำคู่ ใน แถวลง ที่ 2 และ 3,4 กันก่อน


คำเป็น


ข่า ข้า ขา


คา ค่า ค้า



เคยกล่าวถึงในตอนก่อนหน้านี้แล้ว ว่า ทั้งอักษรสูงแลอักษรตำ่คู่ นั้นมีความหมายอย่างไร และทั้ง 2 กลุ่มนี้ แทนเสียงพยัญชนะเดียวกัน โดย ในกลุ่มอักษรสูง จะมีเสียงจัตวาในตัวอักษรเอง เมื่อต้องการลงออกเสียง “ลดต่ำ” ลงมาทีระดับปกติ หรือ กลางๆ จะใช้ตัวอักษรคู่ ในแถวลงที่ 3, 4


สิ่งที่น่าสนใจและนับถือคนที่คิดระบบ คือ การใช้ไม้วรรรณยุกต์แค่ 2 อัน หากใช้ ในกลุ่มอักษรสูง จะใช้บอก เสียง เอก และ โท หาก เอา อักษรสูงและอักษรต่ำ มารวมกัน จะได้ เสียง วรรณยุกต์ 4 ระดับ คือ ระดับปกติ เอก โท และ จัตวา เช่น คา ข่า ข้า และ ขา


ในกลุ่มเสียงพยัญชนะนี้ ยังมีเสียง สูง ที่เรามักเรียกว่าเสียงตรี ด้วย จึงใช้ ไม้โท ้ กำกับ ตัวอักษรต่ำคู่ เช่น ค้า ซึ่งจะไม่มีทางสับสนกับ อักษรสูงที่กำกับด้วยไม้โท เช่น ข้า ซึ่งออกเสียงโท ข้ และ ค้ มีเสียงต่างกัน


ข้อโดดเด่น ในภาษาไทย คือ การใช้ ตัวคำ แยกความหมาย กล่าวคือ คำที่มีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน อาจมีหลายความหมาย เช่น คำ /khâa/ มีอย่างน้อย 3 ความหมาย คือ ‘I’ , ‘value’ และ ‘kill’ เพื่อให้เห็นความหมายได้ชัดเจน เวลาอ่านข้อความ จึง เอา ตัวอักษรอีก 2 ตัวมาใช้ กล่าวคือ ข้า หมายถึง ‘I’ ส่วน ค่า หมายถึง ‘value’ และ ฆ่า หมายถึง ‘kill’ ทั้งนี้ คือการใช้ระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ อักษรต่ำ กำกับด้วย ไม้เอก จะออกเสียง โท ต่างจาก อักษรสูง ที่กำกับด้วย ไม้เอก จะออกเสียง เอก ดังนั้น ข่า ค่า และ ฆ่า จะออกเสียงไม่เหมือนกัน #เรือนบางระมาด



อ่านเพิ่มเติมที่ www.uenbangramat.com



31 views0 comments

Comments


bottom of page