top of page

รถไฟสายใต้ (๓)



นับแต่สมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๖ เมื่อสะพานพระราม ๖ แล้วเสร็จ กรมรถไฟจึงรวมเอา ขบวนสายเหนือ สายอิสาน สายใต้ ไว้รวมกันที่สถานีหัวลำโพง รถไฟสายใต้อันตั้งต้นที่สถานีธนบุรี หรือมักจะเรียกเอาตามความคุ้นเคยว่าสถานีบางกอกน้อยก็ลดบทบาทลงเป็นสายท้องถิ่น ซึ่งจะผ่านสถานีเล็กๆ ส่วนมากเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว หรือป้ายจอด บางระมาด เป็นป้ายจอดที่ ๒ นับจากสถานีบางกอกน้อย ชุมทาง คือจุดแยกรถไฟ ที่ใกล้เรือนบางระมาดคือ ชุมทางตลิ่งชัน ซึ่งในวันสำคัญ เช่น วันปิยมหาราช หัวรถจักรไอน้ำ จะออกจากโรงจอดที่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วไปตั้งหัวขบวนใหม่ที่ ชุมทางตลิ่งชัน จากนั้นไปรับผู้โดยสารที่สถานีหัวลำโพง ปลายทางจะต่างกันในแต่ละปี ปีที่แล้วไปเมืองแปดริ้ว หากมีงานสะพานแม่น้ำแคว หัวรถจักรจะผ่านชุมทางหนองปลาดุก ที่บ้านโป่ง แขวงเมืองราชบุรี รฦกถึงการสร้างทางรถไฟสายไทย พม่า อันไปสุดที่ตันบูซายัด ชุมทางหนองปลาดุกนี้ยังมีรถไฟท้องถิ่นไป เมืองสุพรรณบุรี สมัยก่อน ใครเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กำแพงแสน คงเคยใช้สายนี้ รถไฟจะจอดที่ สถานีมาลัยแมน ความแม่นยำในการส่งอาณัติสัญญาณของนายสถานีช่างมีเสน่ห์ เมื่อรถไฟจะเทียบชาลา ก็จะออกมาลั่นกระดิ่ง และเมื่อจะออกก็จะลั่นอีกครั้ง จะเห็นภาพชาวบ้าน ท้องถิ่น เดินไปมาใจจดจ่อที่ขบวนรถไฟ #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com

9 views0 comments

Recent Posts

See All

コメント


bottom of page