top of page

สู่หนันหยาง ดินแดนทะเลใต้ (3)


หากนึกถึงการค้าระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก เส้นทางสายไหม (the silk road) มักพูดถึงกันบ่อยครั้ง อันที่จริง เส้นทางการค้าอีกเส้นเจริญอยู่มากในมหาสมุทรอินเดีย ชาวอาหรับเดินทางค้าขายไปทุกแห่งหนตามชายฝั่งมหาสมุทร เรื่องไปจนถึงอ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน “ฝิ่น” ของบรรเลงอารมณ์เริ่มเป็นที่นิยมกันกว้างขวางในแถบตะวันออก และปลูกกันมากในอินเดียแถบเมืองพิหาร ปัตนะ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมื่อบริเตนชาติผู้นำแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมเข้ายึดอินเดียได้อย่างเบ็ดเสร็จ ก็พลันผูกขาดการค้าฝิ่นไปด้วย เพราะสบโอกาสทำเงินทำทอง


“ฝิ่น” นี้เองที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือบ่อนบ้านกร่อนเมือง “ฝิ่น” ถือเป็นของผิดกฎหมายบนแผ่นดินจีน บริเตนพยายามนำฝิ่นเข้าไปในจีน ค้าขายแลกกับ “ใบชา” ที่สุดเกิดการ

กวาดล้างฝิ่นครั้งใหญ่ในสมัยพระนางซูสี ฝิ่นจำนวนมากถูกเผา เทลงทะเลแถบกวางโจว สงครามฝิ่น ปะทุขึ้น ด้วยความอ่อนด้อยทางอาวุธ จีนแพ้สงครามยับเยิน ถูกบีบบังคับให้เปิดเมืองท่าต่างๆ ริมทะเล และ “ฝิ่น” กลายเป็นสินค้าถูกกฎหมาย กลางศตวรรษที่ 19 คนจีนจำนวนมากติดฝิ่น เสียผู้เสียคน ครอบครัวแตกแยก สิ้นหวัง ทั้งยังขยายไปทั่วดินแดนทะเลใต้ในนามบริษัท East India


“ฝิ่น” คือ ความทรงจำอันเจ็บปวดในใจ “อองเกียนเบ๋ง” พ่อที่เคยอบอุ่น ทรงภูมิได้ถูกฝิ่นทำลายลงไม่เหลือดี ด้วยความผิดหวังจากการสอบเข้ารับราชการครั้งแล้วครั้งเล่า นับแต่นั้น “อองเกียนเบ๋ง” จึงประกาศตัวเป็นศัตรูกับฝิ่นเสมอมา #กังไสยาม #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com


ภาพจาก wikipedia

Comments


bottom of page