top of page

สู่หนันหยาง ดินแดนทะเลใต้ (4)


นอกจากเครื่องเทศซึ่งเป็นหมุดหมายหลักของชาติตะวันตก “ดีบุก” คือ ทรัพยากรล้ำค่าแห่งหนันหยาง ในยุคสมัยซึ่งมีเพียงเหล็กกล้า สนิม คือปัญหาใหญ่ ดีบุกใช้เคลือบกันสนิมได้ และยังใช้ในการผลิตอาวุธต่างๆ ได้ แหล่งอุดมดีบุกอยู่แถบคาบสมุทรมลายูทั้งฝั่งอ่าวสยาม เช่น พัทลุง ลิกอร์ (นครศรีธรรมราช) สงขลา ปัตตานี ปัตตานี ยะลา ทางฝั่งอันดามัน ก็นับแต่เมืองระนอง ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ตรัง ถลาง ลงไปหัวเมืองประเทศราช ไทรบุรี หรือ เคดาห์ ในปัจจุบัน ก็เป็นแหล่งดีบุก มีอยุ่มากแถบเมืองกูลิม (Kulim) การทำเหมืองเหมืองดีบุก จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก และคนท้องถิ่นทั้งชาวสยามและมลายูไม่นิยมนัก ชอบการเพาะปลูก ทำไร่ทำนาเสียมากกว่า เหมืองดีบุก จึงเป็นแหล่งดึงดูดแรงงานต่างชาติ ทั้ง สิงหล ทมิฬ และจีน


ดีบุกจัดเป็นสินค้าผูกขาดของหลวง คือ ขุดได้เท่าไรก็ขายให้หลวงหมด แรงงานจีนที่เข้ามาอย่าง “เสือผืนหมอนใบ” ใช้แรงงานไปสักระยะ พอสะสมทุนได้ ก็อาจเข้าหุ้นกับบรรดาเจ้าเมือง “เปิดหน้าเหมือง” หรืออาจจะเปิดเองก็เป็นได้ แต่การทำเหมืองดีบุกนั้น นับว่า “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” เพราะอาจจะมีดีบุกไม่มากพอ หากปีใดราคาดีบุกตกต่ำ นายหมืองก็ถึงกับล้มละลายก็มี ทั้งค่าภาคหลวงก็สูง และถนนหนทางที่จะเข้าไปหน้าเหมืองก็ไม่มีความสะดวก การทำเหมืองในยุคโบราณ ต้องใช้กำลังน้ำ หัวเมืองมลายูนี้ ฝนตกชุกอย่างที่เรียกกัน “ฝน 8 แดด 4” หากเป็นเหมืองที่อยู่บนเขา แรงน้ำฝนจะชะดินที่ขุดออกไปจนถึงชั้นแร่ แรงงานต้องทำงานแข่งกับเวลา ตรวจดูว่าก้อนหินที่ขุดออกนั้น “สินแร่” คุ้มพอไหม พลันตักก้อนหินใส่รางน้ำที่ทำไว้ ให้ชะล้างเศษดินออก แรงงานที่กรำทั้งแดดฝน จะต้องทรหดอดทน มีกำลังวังชาอย่างมหาศาล จะทำอย่างไรให้มีแรงได้ขาดนั้น ? “ฝิ่น” คือ คำตอบ แรงงานเหมืองส่วนใหญ่ต้องสูบฝิ่น เพื่อให้มีกำลัง ทั้งๆ ที่ยิ่งสูบ ร่างกายกลับยิ่งซูบ พุงโรตาเหลือง ค่าแรงที่ได้มา ก็หมดไปกับ “ฝิ่น” หากใครรักดี ไม่ติดฝิ่น ก็พอจะเก็บเงินตั้งตัวได้ นอกจาก “ฝิ่น” แล้ว ในเหมืองยังมีโรงพนัน โรงเหล้า อปายะทุกรูปแบบให้แรงงานได้ผ่อยคลาย และเจ้าของกิจการอบายมุขพวกนี้ ก็หาใช่ใครอื่น ก็คือ นายเหมืองนั่นเอง สุดท้าย แรงงาน ก็ไม่ได้ ไม่เหลืออะไร #กังไสยาม #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com



Comments


bottom of page