top of page

สู่หนันหยาง ดินแดนทะเลใต้ (5)


ข้าว อาหารหลักของชาวตะวันออก โดยเฉพาะชาวตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่นิยมกินข้าวอื่นใดนอกจากข้าวจ้าวและข้าวเหนียว ที่ราบลุ่มน้ำต่างๆ นับจาก อิรวดี เจ้าพระยา และแม่โขง ล้วนเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ ถัดลงมาตามแนวแหลมมลายูพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวเท่าไรนัก ด้วยมีสันเขาพาดกลาง ที่ราบหน้าแคบ ลาดลงทะเลชันเกินไป ที่ราบซึ่งพอจะปลูกได้ ฝั่งอ่าวสยาม คือแถบนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ส่วนฝั่งอันดามัน เห็นมีแต่หัวเมืองประเทศราชอย่าง ไทรบุรี เท่านั้น ที่มีที่ราบกว้างพอสำหรับปลูกข้าว ชาวมลายูจึงเปรียบว่า ไทรบุรี คือ ชามข้าวของแผ่นดิน


เมื่อการค้าดีบุกเฟื่องฟู แรงงานจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามายังหนันหยางทะเลใต้ “ข้าว” คือหัวใจ เพราะแรงงานต้องกินข้าว หากคุมราคาข้าวไว้ได้ ต้นทุนแรงงานก็จะถูก หักค่าสัมปทานที่ต้องส่งให้รัฐแล้ว กำไรจากการค้าดีบุกก็จะมาก แต่หากปีใดข้าวขาดแคลน นายเหมืองบางรายถึงกับล้มละลายก็มี ทั้งยังอาจเกิดจราจลอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ สยามจึงพยายามหน่วงไทรบุรีไว้ แม้จะอยู่ห่างไกลและดูแลไม่ถึง เพราะหัวเมืองทางตะวันตกอย่าง ถลาง ตรัง ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ซึ่งเป็นแหล่งเหมืองดีบุก ต้องการข้าวเลี้ยงแรงงาน ทว่าบริเตนแห่งสเตรทออฟเซทเทิลเมนต์ ก็ต้องการ ข้าว เลี้ยงแรงงานในเหมืองแถบมลายูเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ บริเตน จึงพยายามแทรกแซงกิจการภายในของไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมี “ข้าว” พอเลี้ยงคนงานในเหมืองดีบุกซึ่งอยู่ในอำนาจของบริเตน


“ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จีนประสบภัยแล้งรุนแรงอยู่หลายระลอก ประชาชนอดอยาก “ข้าว” อย่าได้หวังจะกินอิ่ม แต่ละมื้อต้องผสม มัน เผือก ลงไปให้อิ่มท้อง เรื่องนี้อยู่ในใจ “อองเกียนเบ๋ง” หนุ่มน้อยในครอบครัวปราชญ์ที่ตกอับ พ่อติดฝิ่น เสียชีวิตลง ทิ้งให้แม่และลูกๆ ต้องเผชิญความอดอยาก แม่ตัดสินใจฝากลูกชายทั้ง 2 คนข้ามน้ำข้ามทะเลสู่หนันหยาง เพื่อชีวิตที่ดีกว่า อองเกียนฮง อองเกียนเบ๋ง พร้อมกับญาติผู้น้อง โควตี้หลง 3 หนุ่มตื่นตาตื่นใจต่อความอุดมสมบูรณ์ของหนันหยาง อองเกียนเบ๋ง ได้งานที่ห้างไถ่หยาง ห้างค้าข้าว ธัญพืช แป้งมัน และโรงสีอันดับต้นๆ ของปัตตาเวีย #กังไสยาม #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.ruenbangramat.com



Comments


bottom of page