top of page

สู่หนันหยาง ดินแดนทะเลใต้ (7)


ผลพวงจากการความเจริญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปปฏิเสธอำนาจของศาสนจักร เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง และนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป นอกจากฮอลันดาแล้ว บริเตนเป็นอีกชาติที่ออกล่าอาณานิคม ดินแดนใหม่ซึ่งจะเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบ ของแปลกใหม่ และตลาดกระจายสินค้า หลังจากยึดครองอินเดียได้ ก็ไม่มีอะไรที่ยากเกินกว่านี้ พม่า และคาบสมุทรมลายู !


คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา ชวา และอื่นๆ เป็นแหล่งที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่างเผ่าต่างพันธุ์มากมาย พูดภาษาตระกูล malayo-polynesian บนคาบสมุทรมลายู มักมีสุลต่านปกครอง แบ่งเป็นแว่นแคว้นน้อยต่างๆ เช่น กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะหัง โยโฮร์ การแต่งงานระหว่างแคว้นเกิดขึ้นเป็นปกติเพื่อขยายพื้นที่ ครั้นบริเตนขยายอำนาจเข้ามา ก็ต้องประจัญกับเจ้าอาณานิคมถิ่นเดิมคือ ฮอลันดา รบกันอยู่หลายคราว จึงตกลงแบ่งเขตอำนาจกัน บริเตนมีอิทธิพลอยู่แถบคาบสมุทรมลายูตะวันตก โดยเข้ามาขอเช่าพื้นที่ Penang คือพื้นที่แรก ต่อมาเป็น Melaka และ Singapura เรียก Strait of Settlement เดิมทีใช้ Penang เป็นศูนย์บัญชาการ ต่อมจึงย้ายไป Singapura บ้านเมืองแถบนี้ตอบรับบริเตนอย่างดี ด้วยได้รับค่าตอบแทน และรายได้จากการค้าดีบุก อีกทั้งบริเตนยังนำระบบการพัฒนาถนนหนทางทันสมัยเข้ามาด้วย Singapura อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ กึ่งกลางระหว่างทะเลจีนใต้ กับ อันดามัน บริเตนจึงใช้ Singapura เป็นเมืองท่าค้าขายสินค้าวัตถุดิบต่างๆ ที่จะผ่านจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก อย่างไรก็ตาม บนคาบสมุทรนี้ คงเหลือ “ไทรบุรี” ที่เป็นประเทศราชของสยามและเป็น “หนามยอกอก” บริเตน หากได้ครองไทรบุรี นั่นคือ ดีบุก และ ข้าว สินค้าทำเงินมหาศาล อีกทั้ง เกาะ Penang ในอดีตก็เป็นส่วนหนึ่งของไทรบุรี การค้าระหว่างไทรบุรี Penang ไม่อาจแยกออกจากกันได้ นั่นหมายความว่า บริเตนจะต้องทำทุกทางเพื่อเข้าครอง ไทรบุรี ให้ได้ ! #กังไสยาม #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com




7 views0 comments

Comments


bottom of page