top of page

หวนเยือนสุโขทัย (๒) : ถิ่นฐาน ที่ตั้ง (๑)

Updated: Jun 18, 2022



หากใครได้มีโอกาสไปเยือนสุโขทัย ก็คงจะไม่พลาดเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติ เมืองเก่าสุโขทัย และหากมีเวลาพอ ก็จะไปตือที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่เมืองเก่าสุโขทัย สิ่งที่คนทั่วไป “รู้สึก” ได้ทั่วกันคือ ไอร้อน เรามักบ่น “ร้อนแทบละลาย” แล้วเมืองมาตั้งตรงนี้ได้อย่างไร เพราะร้อนเหลือจะทน ในขณะที่ สุโขทัยเมืองใหม่ หรือ สุโขทัยธานี นั้นอยู่ติดริมน้ำ ดูสบายกว่ามาก เมื่อขี่จักรยานเยี่ยมชม จุดท่องเที่ยวต่างๆ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ ก็ยิ่งรู้สึกร้อน แม้จะชื่นชมความงามของวัดวาอารามต่างๆ คนสมัยก่อนอยู่กันได้อย่างไร หรือสัก ๗๐๐ - ๘๐๐ ปีก่อนจะไม่ร้อนขนาดนี้ ก็เป็นไปได้


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ดูจะร่มรื่นกว่ามาก ระหว่างเดินชมจุดท่องเที่ยวต่างๆ ก็ไม่รู้สึกร้อนนัก ยิ่งได้ขี่จักรยาน ก็เพลินอยู่ไม่น้อย แต่จะหากจะเปรียบเทียบขนาดแล้ว เห็นได้ว่าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะใหญ่กว่ามาก ขนาดและที่ตั้งของอุทยานทั้งสองแห่งบอกอะไรเราหรือไม่


หากเรามองจากมมุมมองบนด้วย Google Map จะเห็นได้ว่าเมืองเก่าสุโขทัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม และห่างอยู่มากที่เดียว ศรีสัชนาลัยก็อยู่ฝั่งตะวันตกเช่นกัน และอยู่ในตำแหน่งเหนือ-ใต้ แทบจะเป็นแนวตรงกับเมืองเก่าสุโขทัยเลยทีเดียว การวางตำแหน่งเมืองแบบนี้ คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน


แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในยามน้ำหลากกลางปี จะเชี่ยวกราก เชี่ยวขนาดที่ว่าล่องแพซุงนับพันหมื่นต้นลงมาได้ น้ำปิงกว้าง แต่ไม่ลึกนัก น้ำวังตื้น และสั้น รวมกับน้ำปิงที่เมืองตาก น้ำยม เชี่ยวและลึก รวมกับน้ำน่าน แถวเกยชัย ชุมแสง นครสวรรค์ น้ำน่านไม่ต่างจากน้ำยม ที่เชี่ยว ลึก

น้ำยมในเขตแคว้นศรีสัชชนาลัยศุโขไทนั้น ยังเชี่ยวแรงอยู่มาก เพราะไหลลงมาจากหุบเขาในเมืองแพร่ ยามน้ำหลาก ที่ราบริมฝั่งจะกลายเป็นเวิ้งน้ำขนาดใหญ่กว่าลำน้ำยมเอง ในศิลาจารึกเรียก “ทะเลหลวง” คำ “ทะเล” นี้มาจากคำเขมร โตนเล หมายถึง แม่น้ำใหญ่ “หลวง” เป็นคำไทยเดิมมา แปลว่า “ใหญ่”


ด้วยเหตุนี้ เมืองเก่าสุโขทัยและศรีสัชนาลัยจึงตั้งอยู่ห่างลำน้ำยมมาก เพื่อเลี่ยง “น้ำหลาก” ในฤดูฝนนั่นเอง


แล้วเอาน้ำที่ไหนใช้ ? #แสงสรวงสัชชนาไลย #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com



10 views0 comments

Comments


bottom of page