top of page

หวนเยือนสุโขทัย (๔) : เขมรแห่งสุโขทัย

Updated: Jun 18, 2022


การเที่ยวชมโบราณสถาน ไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม ย่อมทำให้เกิดความ “เพลิน” ทั้งตาและใจ “เพลิน” อันมาจาก “Play + Learn” หากมองโบราณสถานเหล่านี้เพียงแค่ “จุดแวะชม” ก็ดูจะผิวเผินไปสักน้อยหนึ่ง หากศึกษาเรื่องราวที่มาที่ไป ก็จะเห็น “ชีวิต” ในอดีตกาล เมื่อไปเยือน วัดศรีสวาย หรือ วัดพระพายหลวง ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย จะเกิด “ทึ่ง” อารยธรรมเขมรแผ่สพัดขยับขยายมาไกลขนาดนี้เชียวหรือ “อำนาจ” ไม่เข้าใครออกใคร การเป็นศูนย์กลางจักรวาล จะเน้นแต่ ศูนย์ ย่อมไม่ได้ แต่ต้องสร้าง บริวาร รอบ ศูนย์ นั้นให้สว่างไสว จึงจะช่วยให้ ศูนย์ แห่งนั้น สง่าอ่าองค์ ขึ้น ปราสาทเหล่านี้ คงสร้างขึ้นเป็นเทวาลัยในศาสนาสถาน เพื่อเป็นหมุดหมายแห่งอำนาจขอม (เขมร) เมื่อดูตำแหน่งจะเห็นว่า “ทับซ้อน” กับเมืองเก่าสุโขทัยซึ่งสร้างขึ้นในชั้นหลัง อีกทั้ง รอบวัดพระพายหลวงยังมี “บาราย” ขังน้ำล้อมไว้ แสดงให้เห็นว่า เป็น “ชุมชน” มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ ย้ำเตือน ว่าเทคโนโลยีการตั้งเมืองบนที่ลาดเชิงเขานี้ มาจากวัฒนธรรมเขมรเป็นแน่แท้ ปราสาทเขมรใหญ่ น้อยมีกระจัดกระจายขึ้นไป “สุด” ที่ศรีสัชนาลัย ปราสาทนั้น เรียกกันมาในชั้นหลังว่า “วัดเจ้าจันทร์” เหนือขึ้นไปจากนี้ ไม่ปรากฏ ปราสาทเขมรใดๆ อีก หากไปเที่ยวชม วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง บนซุ้มประตู ยังปรากฏ ยอดน้อยๆ สลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์อยู่ แสดงว่า ตำแหน่งนี คงเป็น ปราสาทเขมรมาก่อนเก่า ภูมิสถานที่มีโค้งน้ำล้อม ยิ่งแสดงให้เห็นการใช้ “น้ำยม” ส่วนโค้งนี้เป็น บาราย ของชุมชนโบราณ


การตั้งเมืองเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าเป็น “ชุมชน” ที่มี “ชีวิต” ผู้คนเดินทางไปมาบนแผ่นดินอันกว้างขวางแห่งสุวรรณภูมินี้ และการค้าขายเหล่านี้ ก็คงสืบเนื่องลงมาเรื่อยๆ หลายชั่วคน จนปรากฏบนศิลาจารึกว่า “ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือน ค้าทองค้า”

การค้านี้ คงไม่ได้เพิ่งเริ่มในสมัยที่เกิด แว่นแคว้นสุโขทัย แต่คงจะมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว จึงได้เกิดการ สร้างเทวสถาน เทวาลัย ของชุมชนขึ้นมา #แสงสรวงสัชชนาไลย


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com




4 views0 comments

Comments


bottom of page