top of page

หวนเยือนสุโขทัย (๗) : ภนมเพลิง

Updated: Jun 18, 2022


“สูเจ้าจงเอาภนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เปนที่สร้างพรตบูชากูณฑ์” เขียน ภนมเพลิง ตามรูปคำเดิม ซึ่งเป็นคำเขมร ภนม หมายว่า “เขา” เพลิง หมายว่า “ไฟ” ดังเคยกล่าวไว้ก่อนหน้าแล้ว คติการสร้างเมืองในสมัยโบราณ จะอิงเมืองไว้กับ “เขา” อย่าง นครธม นั้น ก็อิงไว้ กับพนมกุเลน คติเขมร ถือว่า เขาเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ เป็นสถานสถิตย์ของเทพเจ้า เมื่อตอนสร้าง ศรีสัชนาไล ก็คงรับเอาคตินี้มาเป็นมั่นคง จากถ้อยคำด้านบน สะท้อนให้เห็นคติพราหมณ์คือ การบูชาไฟ “กูณฑ์” เขานี้ คงหมายให้เป็นที่ บูชาเทพ ของพ่อเมือง พนมเพลิง นี้ มี ๒ เนิน มีทางเชื่อมต่อกันได้ ด้านบน มีพระเจดีย์ทรงระฆังประดิษฐาน องค์หนึ่งยอดหักไป อีกองค์สมบูรณ์กว่า ไม่แน่ใจว่า องค์ไหนชื่อ พระเจดีย์สุวรรณคีรี ชื่อนี้ คงมาตั้งกันในชั้นหลัง สมัยอยุธยาผนวกสุโขทัยแล้ว พระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำนี้ ผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ศิลป เห็นว่า เป็นศิลปสุโขทัยแท้ อันแสดงถึงความเรียบง่าย สมส่วน ไม่รุงรัง หากให้เล่า อยากจะแยกเป็นอีกตอนหนึ่ง


พนมเพลิงมีชัยภูมิดีเลิศ เรียกว่า เขาโอบเมือง เมืองโอบเขา คือ แนวเขาพนมเพลิงนั้น ต่อกับแนวเขาพระศรีโอบเมือง ลงมาทางทิศตะวันตก เป็นปราการชั้นยอดของเมือง ศรีสัชนาไล ผู้คนเองก็ตั้งถิ่นฐานโดยรอบเขานี้ ใช้นำ้จากเขา ชักลงมาสู่เมือง ก่อเกิดชีวิต หาอยู่หากิน จากพนมเพลิง ลงมา จะเห็นแนว โบราณสถาน ๔ แห่ง คือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์ ๗ แถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ และวัดนางพญา ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปก้บ ลำน้ำยม น่าแปลกว่า แนวตะวันออกเฉียงใต้ ในภาษาสันสกฤต เรียก อาคเนย์ ซึ่งเป็นคำรากเดียว กับ “อัคนี” หมายว่า ไฟ อันเป็นทิศมงคล คนสมัยก่อน จะตั้งเมือง ตั้งวัด ย่อมต้องดูทิศทางที่ตั้ง และคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน #แสงสรวงสัชชนาไลย #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com





11 views0 comments

Коментарі


bottom of page