top of page

แรกมีทางรถไฟ



ทุกครั้งที่มาเยอรมนี จะคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งแปลออกเป็นภาษาไทย คือ Anfang der Eisenbahn in Siam บันทึกส่วนตัวของวิศวกรชาวเยอรมัน Luis Weiler Weiler เข้ามาสยามในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังเกิดวิกฤติการณ์ รศ. 112 สยามเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมี “รถไฟ” เพื่อพิทักษ์พระราชอาณาจักร ซึ่งเพิ่งจะผนวกแผ่นดินล้านนาเข้ามา เรื่องงานวิศวกรรม เยอรมนี ไม่เป็นรองใคร ทรง “จงใจ” เลือกเยอรมนีเข้ามาคานอำนาจ บริเตน กับ ฝรั่งเศส แน่นอน บริเตน ไม่พอใจอย่างมาก เพราะหมายตาล้านนา ดินแดนอันอุดมด้วยไม้สัก


ข้อเด่นหนึ่งเกี่ยวกับรางรถไฟคือ ขนาดหรือความกว้างของรางในยุโรปจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 เมตร ส่วนของอังกฤษจะอยู่ที่ 1 เมตร แรกสร้างทางรถไฟในสยาม ความกว้างของรางจะเท่ากับในยุโรป เมื่อได้ข้อสรุปเรื่องเส้นทางแล้ว ก็ถึงขั้นสำรวจเส้นทาง Weiler บรรยายสภาพภูมิประเทศของสยามไว้ลเอียดทีเดียว หน้าน้ำหลาก มองแทบไม่เห็นแผ่นดิน การวางรางต้องวางให้พ้นน้ำ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง วางรางเป็นส่วนเป็นตอนให้มาบรรจบกัน อุปสรรคใหญ่คือ การวางรางข้ามแม่น้ำน่าน ซึ่งเชี่ยวกรากยิ่งในช่วงน้ำหลาก Weiler ต้องคำนวณความแรงน้ำให้เข้ากับเสาเข็มที่ต้องเจาะลึกลงไปบนฝั่ง น้ำน่านยามน้ำลด น้ำหลาก มีแรงดันต่างกัน Weiler ใช้เครื่องมือแรงดันไอน้ำอย่างนิมกันในสมัยนั้น และเปลี่ยนไปใช้แรงดันลม ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนในแผ่นดินสยาม เมื่อข้ามไปอีกฝั่งก็ถือว่าเป็น “ปากทาง” ล้านนา คือ อ.พิชัย การวางรางจากนี้ไต่ระดับความสูงขึ้นไป และหยุดชงักลงด้วยเหตุแห่งงบประมาณ ที่เมืองพิชัยนี้ ยังขยายรางแนวรางรถไฟออกไปทางตะวันตกมาสุดที่เมืองสวรรคโลก มีนายช่างคุมงานก่อสร้างจนแล้วเสร็จ


การวางรางออกไปทางเมืองสวรรคโลกนี้ อย่างที่เคยเล่าไว้ในเรื่องก่อน สยามคงตั้งใจให้ไปสุดที่เมืองระแหง หรือ ตาก เพราะ ระแหง เป็นเมืองเหนือแห่งสุดท้ายมีเรือในแม่น้ำปิงล่องขึ้นมาได้ หากมีทางรถไฟไปถึง ก็จะเกิดการค้าขายขนส่งสินค้าทางน้ำ ทางบก ซ้ำยังไปเชื่อมต่อกับทะเลอันดามันในเขตเมืองมอญด้วย


Weiler มีความภูมิใจต่องานรถไฟมาก เขามั่นใจมากว่าเยอรมนีจะได้โครงการเส้นทางรถไฟสายใต้ต่อจากเมืองเพชร แม้จะมีขนาดรางที่ต่างกัน แต่ไม่เป็นปัญหาแก่เขาเลย ที่สุด โครงการนี้ตกเป็นของบริเตนตามเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาลับที่สยามทำกับบริเตนไว้ เมื่อขึ้นแผ่นดินใหม่ รัชกาลที่ 6 Weiler ล้มป่วย ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันอยู่ฝ่ายตรงข้าม Weiler ถูกคุมขัง แต่ด้วยอาการป่วยโรคตับ เขาได้รับอิสรภาพและรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่สุด เขาถูกส่งกลับประเทศเยอรมันทางเรือเดินกลไฟ Magdala Weiler อ่อนแรงลง และสิ้นใจระหว่างทาง และร่างของเขาทอดลงในมหาสมุทร #นิยายต่อเนื่อง #แสงสรวงสัชชนาไลย #เรือนบางระมาด


อ่านเพิ่มเติมที่ www.ruenbangramat.com

Comentarios


bottom of page