top of page

แสงสรวงสัชชนาไลย ๑๖ : ซ้อนทับ ซับซ้อน ต่อคิด ต่อยอด แผ่นดินพระร่วงเจ้า (1)


หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป จันนวลใช้เวลาส่วนใหญ่ที่หอสมุดแห่งชาติ แหล่งข้อมูลที่ดีแห่งหนึ่ง ทว่าถูกมองข้าม คนมาใช้บริการบางตา ‘ดีเหมือนกัน ไม่พลุกพล่าน’ ทั้งยังมีหนังสือขาย ข้อมูลเกี่ยวกับ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย มักซ้ำกันไปมาตามความนิยมประวัติศาสตร์กระแสหลัก “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”


ลำดับกษัตริย์องค์ต่างๆ ในแคว้นสุโขทัย วงศ์พระร่วง ...


พ่อขุนศรีนาวนำถม พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหง พญาเลอไท พญาลิไท พญาไสลือไท ฯลฯ​


หนังสืออนุสรณ์ ฉลองครบ 700 ปีที่เกิด อักษรไทย “๗๐๐ ปีลายสือไทย” ตามมาด้วย การยก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกในช่วงทศวรรษที่ 1980 พร้อม หนังสืออีก 3 เล่มที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นในคราวประกาศมรดกโลก “ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร”


แม้หลายคนจะกล่าวว่า ทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีความบังเอิญ แต่คราวนี้คงใช้ไม่ได้ หนังสือ 2 เล่มหลังเขียนโดย ดร. ปราชญ์ ศรีพนมมาส ที่จันนวลเคยได้พบ ซ้ำยังเป็นเพื่อนรักกับคุณพ่อของเธอ นี่ละ ความบังเอิญ​และ โชคชะตาก็มักจะเข้าข้างความพยายามเสมอ


ทว่า ทุกอย่างเหมือนภาพจิกซอว์ ที่จันนวลพยายามปะติดปะต่อทั้งยังเกิดคำถามมากมาย ทั้งพยายามใช้ความรู้ทางภาษาวิเคราะห์ และการออกภาคสนามกับนัยน์ และกรัน เข้าช่วย


‘จุดเริ่มคือ พ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นขุนอยู่ที่เมือง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เมื่อสิ้นบุญท่านแล้วเกิดการชิงเมือง พ่อขุนบางกลางหาว ครองอยู่เมืองบางยาง พ่อขุนผาเมืองครองอยู่เมืองราด ทั้งสองพระองค์ร่วมมือกัน ขับไล่ ขอมสบาดโขลญลำพง ออกไป ...


แสดงถึง ความสำคัญของ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ที่ผู้มีอำนาจอยากครอบครอง และขอมเองก็คงอยากมีอำนาจยิ่งใหญ่กลับคืนมาเหมือนเดิม ในช่วงเวลาเดียวกัน ตรวจสอบดู ปี พ.ศ. 1700 ปลายๆ ยุคนครธม เป็นช่วงที่อำนาจเขมรเริ่มอ่อนแรง... จริงสินะ คำ ศรีนาวนำถม กับ ธม ถ และ ธ อยู่ในแถวเดียวกัน นาวนำ นาวอาจจะมาจาก นึว แปลว่าอยู่ ถม ธม แปลว่า ใหญ่ ศรี = เสร็ย เป็นคำมงคลของทางเขมร ช่วงเริ่มสุโขทัย น่าจะยังมีอิทธิพลเขมร อยู่พอตัวที่เดียว ...


เดาๆ เอาว่า พ่อขุน คือ พ่อเมือง ศรีนาวนำถม น่าจะหมายถึง ผู้อยู่และเป็นใหญ่ในพื้นที่นี้ ...​


เมืองบางยาง เมืองราด น่าจะเป็นเมืองในอยู่ในพื้นที่ แถบนั้น แต่ระดับไม่น่าเท่ากับ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย สินะ เพราะ ทั้งพ่อขุนบางกลางหาว และ พ่อขุนผาเมือง ต่างก็มาช่วย หาก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ไม่สำคัญ เป็นแค่เมืองบริวาร ก็น่าจะ ทิ้ง ไป เสียเวลามา ช่วย...


ทำไม ?? พ่อขุนผาเมืองใจดีเสียจริง ชนะพวกขอมแล้ว ยังยกเมือง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาวอีก ... คงเป็นเพราะท่านแต่งงานกินดองกับเจ้าหญิงเขมร ซึ่งดูแล้วอยู่ในฐานะที่เหนือกว่า เพราะวัฒนธรรมเขมร เมืองราดอยู่ที่ไหนล่ะ ... ?? อีกข้อน่าจะเป็นเพราะนางเสือง ซึ่งเป็นน้องสาวพ่อขุนผาเมือง แต่งงานกินดองกับ พ่อขุนบางกลางหาว หากยกศรีสัชนาลัยสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว น้องสาวก็จะขึ้นเป็นแม่เมือง ...​เมืองราด ก็ต้องใหญ่อยู่ไม่น้อย...​ จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขุนสามชนมาตีสุโขทัย นี่ แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ นี่ ต้องมีของดี แน่นอน คือ ศูนย์กลางการค้าทางบก ที่จะเชื่อมต่อกับเมืองลาว และล้านนาตะวันออก ส่วนล้านนาทางตะวันตก น่าจะขึ้นจาก ระแหงแขวงเมืองตากได้...​ เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู อ่อ.... บำเรอ คือ ดูแล รับใช้ ...​จาก พ่อขุนบางกลางหาว เมืองก็ตกมาที่ พ่อขุนบานเมือง เมื่อสิ้นพี่กู เมืองจึงตกแก่กูทั้งกลม คือ พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนบานเมืองก็อาจจะมีลูก ตรงนี้หรือเปล่าที่อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ว่าเมืองไม่ตกไปที่ลูก แต่ตกไปที่น้อง


จากพ่อขุนรามคำแหง พญาเลอไท ซึ่งเป็นลูก สืบเมืองต่อจากพ่อขุนรามฯ​ คราวนี้ มาลูก ไม่ได้ไปที่น้อง คำ “เลอ”​ น่าจะออกเสียงตาม เขมร หมายถึง สูง จากพญาเลอไท มาสู่ พญาลิไท บางแหล่งเขียนเป็น ลือไท ใช้ ตัว ฦา เสียด้วย ลือ หมายถึง ได้ยิน แบบ เล่าลือ เลื่องลือ คำเขมรแน่นอน คงหมายถึง มีชื่อก้องในหมู่คนไท เพราะกษัตริย์ลำด่อมาคือ ไสลือไท น่าจะเชื่อมโยงกับ พญาลิไท ลือไท คือ ลูกชาย ... แต่ช่วง เปลี่ยนผ่าน จาก เลอไทมา ลิไท มี พ่อขุนงั่วนำถม แทรก แสดงว่า มันต้องไม่ราบรื่นแน่นอน เพราะ พญาลิไท ต้องเสด็จลงมาจาก ศรีสัชนาลัย ใช้ขวานจามประหารศัตรู แสดงว่า จบ พ่อขุนงั่วนำถม ต้องเกิดความวุ่นวายแน่ๆ ...​ชื่อ งั่วนำถม จะเกี่ยวเนื่องอะไร กับ พ่อขุนศรีนาวนำถม หรือไม่ ... ’


จันนวลลองเอากรอบเวลาของแคว้นสุโขทัยแต่เริ่มจนถึงช่วงที่ถูกกรุงศรีอยุธยาผนวกเข้า แคว้นสุโขทัยจะมีอายุประมาณสัก 200 กว่าปีเท่านั้น 200 กว่าปีนี้ สามารถทำให้ สุโขทัย กลายเป็นอุดมคติแห่งความงาม สงบ ได้เลยหรือ ???


‘ “พระร่วง” คำนี้ คือ ตัวแทน ของสุโขทัย แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า คือ พระองค์ใด ดูเหมือนคนส่วนมากจะมุ่งไปที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ทุกอย่างคงไม่ประดังประเดอยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแน่ๆ ดูเหมือนคำนี้ เป็นคำที่คนอื่นอ้างถึง สุโขทัย ในศิลาจารึกเอง กลับมีคำนี้น้อยมาก อาจเป็นเพราะเล่าเรื่องผ่าน “ตัวกู” first person ....​ ดูเหมือนคำนี้ ยังใช้เป็น credit ถึงความเก่าแก่ ได้อีก เช่น สุภาษิตพระร่วง แต่เราไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้ว คือ พ่อขุนรามคำแหง หรือองค์ใด หรือ ใครแต่ง ...​


อีกอย่าง เริ่มมีการเปลี่ยนจากการเรียกกษัตริย์ว่า พ่อขุน มาเป็น พญา และพระมหารธรรมราชา มีการอิงกับ ธรรม Buddhism และ พระพุทธศาสนา คือ จุดเด่นอีกข้อของสุโขทัย แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร?? ’


ผ่านมา 10 กว่าวันจันนวลได้ข้อมูลเป็นภาพทั้งแยกและซ้อนทับกันไปมาเกี่ยวกับพื้นที่ที่เรียกกันว่า อาณาจักรสุโขทัย พยายามเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลได้จากการออกภาคสนาม แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะ เขียนรายงานเสนอ ศาสตราจารย์ เคลาส์ ได้


‘ข้อมูลขนาดนี้ คงมากพอที่จะขอคำปรึกษาจาก ดร. ปราชญ์ ศรีพนมมาศ’ จันนวลคิดพลางและติดต่อผ่านเลขานุการเพื่อขอพบเพื่อปรึกษางาน


แดดเช้าค่อยเรื่อขึ้นตามแนวต้นมะพร้าวริมคลองชักพระอีกฝั่ง ‘บ้านขุนบริรักษ์ค่ะ คุ้นเคยกับบ้านเราดี ท่านรับราชการอยู่กรมพลำภัง กระทรวงมหาดไท’ ยายอ่อนเคยเล่า จันนวลตื่นแต่ย่ำรุ่ง เรียบเรียงประเด็น ต่างๆ ที่จะเข้าไปขอคำปรึกษา เสียงยายอ่อนจัดสำรับเช้า ซึ่งก็มีข้าวต้มถ้วยหนึ่ง ยำกุ้งแห้ง ขนมปังเสี้ยวเดือน ตามคำยายอ่อน


‘เรียกยากเหลือเกิน ครัวอะไร นะคะ’ จันนวลจึงเล่าให้ยายอ่อนฟังว่า ขนมปัง croissant มีกำเนิดขึ้นในโลกมุสสิม croissant แปลว่าเสี้ยวพระจันทร์ สัญลักษณ์ทางศาสนาอิสลาม ยายอ่อนจำขึ้นใจให้คนออกไปซื้อที่ห้างใหญ๋ไม่ไกลบ้าน เรียกว่า ขนมปังเสี้ยวเดือน


“คุณหนูเอาแน่หรือคะนี่ โอยเล่นอะไร ยายว่ามันจะไม่สนุกนะคะ จากคลองชักพระออกไปท่าพระจันทร์ไม่ไกลก็จริง แต่ไม่มีใครเข้านั่งเรือกันแล้ว”


สักพักหนึ่ง ตาพุ่มคนเรือก็เทียบเรือเข้าที่หน้าบ้าน จันนวลก้าวลงเรือ มีนายศุขขอตามไปด้วย ข้อนี้ จันนวลต้องยอมยายอ่อน ไม่อย่างนั้น ยายอ่อนไม่ยอมให้ลงเรือเป็นแน่


เรือแล่นช้าๆ ออกไปปากคลอง 2 ฝั่งยังเป็นบ้านเรือนแบบสมัยก่อน ซึ่งคนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เห็น “บ้านที่หันหน้าเข้าคลอง” เพราะใช้ถนนกันเสียหมด ปากคลองชักพระ มีประตูน้ำเปิดปิดกันน้ำเค็มรุก และป้องกันน้ำท่วมได้ ตรงปากคลอง มองเห็นวัดขี้เหล็ก ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชาวบ้านลงขึ้นเรือหางยาวบ้าง เรือแทกซี่บ้าง ตาพุ่มค่อยบ่ายหัวเรือเลี้ยวขวาออกจากคลองชักพระช้าๆ คลองบางกอกน้อยเป็นคลองใหญ่ เกือบ 8 โมงเช้า เรือค่อยๆ เข้าคลองมากขึ้น ช่วงเช้าเรือจะเดินเบา กันคลื่นแรง ตาพุ่มขับเรือหลบแดดไปอีกฝั่งซ้ายคลอง กลัวจันนวลจะร้อน เริ่มเห็นเรือขนทรายบ้าง ฝั่งตรงข้ามมีวัดใหญ่ตั้งอยู่ “วัดชีปะขาว” ฝั่งซ้ายเป็นอู่เรือราชพิธี เรือสุพรรณหงส์​ลอยเด่นสง่าอยู่บนคานรับ เคียงคู่เรือ อนันตนาคราช พญานาค 7 เศียร อีกลำคงเป็นเรือเอนกชาติภุชงค์ เพราะจำสีได้ ชมพู อ่อนหวาน จันนวลยกมือขึ้นสูงท่วมหัว ระลึกถึงพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ พลางคิด


‘จะมีสักกี่คน ที่ได้มีโอกาสเห็นมรดกชาติสูงค่าแบบนี้ทุกวัน’



15 views0 comments

Comments


bottom of page